ด้านภาษี

ด้านภาษี

วันที่นำเข้าข้อมูล 7 เม.ย. 2558

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 21,613 view
ระเบียบด้านภาษีนิติบุคคลของไต้หวัน
 
บริษัทต่างชาติที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ไต้หวันจะต้องเสียภาษีรายได้ในอัตราร้อยละ 25 ของรายได้บริษัทจากทั่วโลก
บริษัทต่างชาติที่มีเพียงสาขาในไต้หวันไม่จำ เป็นต้องเสียภาษีจากรายได้ที่มีแหล่งรายได้นอกไต้หวันเนื่องจากจะถือว่าเป็น non-resident สำหรับระเบียบด้านภาษี
 
การยกเว้นภาษี
รายได้ที่ได้รับการยกเว้นจากภาษีรายได้นิติบุคคลไต้หวันประกอบด้วย
1. รายได้จากส่วนต่างของการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ไต้หวัน
2. ค่าลิขสิทธิ์ที่จ่ายให้กับบริษัทต่างชาติสำหรับค่าลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า และการรับอนุญาตสำหรับการพัฒนาสินค้า และการใช้เทคโนโลยีใหม่ ตามที่ได้รับอนุมัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไต้หวัน
 
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินการของบริษัทสามารถที่จะใช้หักภาษีได้ ตราบเท่าที่มีเอกสารและหลักฐานรับรองที่ครบถ้วน
 
การหักภาษีล่วงหน้า
บริษัทไต้หวันที่จ่ายเงินปันผลจากส่วนของ กำไรที่หักภาษีแล้ว สามารถโอนภาษีในสัดส่วนที่ถูกหักไปแล้วให้กับผู้ถือหุ้นพร้อมกับเงินปันผล เพื่อนำไปเป็น credit สำหรับภาษีต่อไป ซึ่งผู้ถือหุ้นดังกล่าวสามารถนำไปเป็นส่วนลดสำหรับภาษีเงินได้ส่วนบุคคลของ ตนได้ โดยจะสามารถจะลดได้ไม่เกินกว่าสัดส่วนร้อยละ 40 ของภาษีเงินได้ส่วนบุคคล
ผลกำไรของบริษัทที่มิได้จ่ายออกเป็นเงินปันผลในปีที่สองจะต้องถูกหักเป็นภาษี retained earnings tax ในอัตราร้อยละ 10
 
ภาษีทางเลือก (Alternative Minimum Tax – AMT)
บริษัทที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ไต้หวัน ซึ่งมีแหล่งรายได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีตามกฎหมายไต้หวัน หรือมีรายได้ขั้นต่ำเกินกว่า 2 ล้านดอลลาร์ไต้หวันต่อปีจะต้องจ่ายภาษีทางเลือกขั้นต่ำ ซึ่งมีอัตรา ดังนี้ (รายได้ที่ต้องเสียภาษี + รายได้จากส่วนต่างของหุ้นและหลักทรัพย์ + รายได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี – 2 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน) * 10%
ทั้งนี้ หาก AMT มีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าของภาษีรายได้บริษัทหลังจากที่หักลบส่วนของค่าใช้จ่าย แล้ว บริษัทจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการจ่ายส่วนต่างดังกล่าว
 
ระเบียบด้านภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดาของไต้หวัน
บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะเป็น resident หรือไม่ มีหน้าที่ต้องจ่ายภาษีสำหรับแหล่งรายได้จากในไต้หวัน โดยแบ่งออกเป็นประเภทภาษีรายได้ต่างๆ ดังนี้
1. ภาษีรายได้สำหรับ non-resident
หากบุคคลดังกล่าวอาศัยอยู่ในไต้หวันน้อยกว่า 90 วันใน 1 ปี จะได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับแหล่งรายได้นอกไต้หวัน แต่รายได้ที่ได้รับในลักษณะของเงินเตือนในไต้หวันจะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 20 โดยที่ไม่สามารถนำค่าใช้จ่ายมาลดหย่อนได้
สำหรับบุคคลที่อาศัยอยู่ในไต้หวันเกินกว่า 90 วันแต่น้อยกว่า 183 วันในหนึ่งปีจะต้องเสียภาษีในส่วนของรายได้จากในไต้หวันและรายได้จากแหล่ง รายได้นอกไต้หวันในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภารกิจในไต้หวัน และ อย่างไรก็ตาม รายได้จากแหล่งรายได้นอกไต้หวันดังกล่าวจะได้รับการยกเว้นภาษีหากแหล่งราย ได้ดังกล่าวได้รับการระบุให้ยกเว้นภาษีในสนธิสัญญาหรือกฎหมายภายในของ ไต้หวันที่เกี่ยวข้อง อัตราภาษีสำหรับรายได้ในไต้หวันของ non-resident ในไต้หวันจะอยู่ที่ร้อยละ 20 อย่างไรก็ตาม บุคคลที่พำนักอยู่ในไต้หวันเกิน 183 วันจะต้องกรอกแบบฟอร์มเงินได้สำหรับการเสียภาษี หากมีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือนที่หัก ณ ที่จ่ายแล้ว
 
2. ภาษีรายได้สำหรับ resident
บุคคลที่พำนักอยู่ในไต้หวันเกิน 183 วันต่อปีจะเข้าข่ายเป็น resident ซึ่งรายได้ทั้งหมดในไต้หวันจะต้องหักภาษี และบุคคลดังกล่าวต้องนำรายได้ที่มาจากต่างประเทศมาคำนวณรวมกับรายได้ไต้หวัน ด้วย โดยในแต่ละปีจะต้องจ่ายภาษีตามอัตราขั้นบันไดตั้งแต่ร้อยละ 6 ถึงร้อยละ 40
 
3. ภาษีสำหรับ options ของหุ้น
ผลกำไรจากมูลค่าส่วนต่างของราคาหุ้นในวันที่ ซื้อและในวันที่ถือครอง จะถือว่าเป็นรายได้อื่นๆ ที่จะต้องหักภาษีด้วย อย่างไรก็ตาม อัตราภาษีดังกล่าวจำกัดเฉพาะบุคคลต่างชาติในไต้หวันเท่านั้น
 
สนธิสัญญาด้านภาษีของไต้หวัน
คตล. ที่ไต้หวันได้ลงนามเพื่อป้องกันการจัดเก็บภาษีซ้อน และหลีกเลี่ยงการหนีภาษี มีจำนวน 16 ฉบับ และ คตล.ว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีด้านการขนส่งซ้อนอีก 14 ฉบับ
 
ภาษีธุรกิจของไต้หวัน
ภาษีธุรกิจสามารถแบ่งออกเป็นภาษีธุรกิจพิเศษ และภาษีมูลค่าเพิ่ม
 
A. ภาษีธุรกิจพิเศษ
สถาบันการเงิน ร้านอาหาร และผู้ประกอบการขนาดเล็กบางประเภทจะต้องเสียภาษีธุรกิจพิเศษในอัตราร้อยละ 0.1 – ร้อยละ 25 สำหรับรายได้ทั้งหมด ภาษีธุรกิจพิเศษจะต้องจ่ายทุกสองเดือน โดยจะต้องเป็นการจ่ายล่วงหน้าก่อนที่จะมีการยื่นใบเสียภาษี
 
B. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่เข้าข่ายธุรกิจที่ต้องเสียภาษีธุรกิจพิเศษจะอยู่ภายใต้ระบบของภาษี มูลค่าเพิ่ม ซึ่งในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 5 นอกเสียจากสินค้าที่ได้รับการยกเว้นจากภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว ภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องจ่ายก่อนทุกวันที่ 15 ของทุกๆ 2 เดือน อาทิ ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือน ม.ค. และ ก.พ. จะต้องจ่ายภายในวันที่ 15 ของเดือน มี.ค. สำหรับบริษัทที่สินค้าได้รับการยกเว้นจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ยังคงต้องกรอกแบบฟอร์มภาษีมูลค่าเพิ่มทุกเดือน