ขั้นตอนการลงทุนและจัดตั้งบริษัท
ขั้นตอนการลงทุนและจัดตั้งบริษัท
การก่อตั้งกิจการในไต้หวัน |
|
1. รูปแบบ บริษัทต่างชาติส่วนใหญ่เลือกก่อตั้งกิจการในไต้หวันใน 2 รูปแบบต่อไปนี้ |
|
1.1 |
|
บริษัท – บริษัทต่างชาติส่วนใหญ่เลือกก่อตั้งบริษัทเพื่อดำเนินธุรกิจในไต้หวันรูปของ Limited company (บุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของกิจการโดยลำพัง หรืออาจดำเนินการโดยร่วมลงทุนกับบุคคลอื่นเป็นกลุ่มคณะก็ได้ โดยความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นแต่ละคน/นิติบุคคล จำกัดตามเงินลงทุนในกิจการ) หรือ Company limited by shares (ความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นแต่ละคน/นิติบุคคลจำกัดตามจำนวนของหุ้นที่ถือ อยู่) โดยเป็นไปตามกฏหมายควบคุมบริษัทและบทญัญญัติว่าด้วยการลงทุนของชาวต่างชาติ ซึ่งนักลงทุนต่างชาติสามารถลงทุนในรูปของเงินทุน เครื่องจักรและอุปกรณ์ วัตถุดิบ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ ทรัพย์สินทางปัญญา หรือความเชี่ยวชาญทางเทคนิคอื่นๆ ในบริษัทใหม่หรือบริษัทที่ดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว |
|
1.2 |
|
สำนักงานสาขา – บริษัทต่างชาติสามารถดำเนินธุรกิจโดยก่อตั้งสำนักงานสาขา โดยกฎหมายควบคุมบริษัทรับรองสิทธิและข้อผูกพันเสมือนเป็นบริษัทภายในของ ไต้หวัน ทั้งนี้ ผู้จัดการสาขาจะเป็นผู้รับผิดชอบสำนักงานสาขา โดยต้องทำเรื่องขอรับการรับรองหัวหน้าสำนักงานจากกระทรวงเศรษฐการไต้หวัน |
|
|
|
สำนักงานสาขาได้รับประโยชน์ทางภาษีเหนือบริษัทลูกของบริษัทต่างชาติ ดังนี้
-
ก. ผลกำไรที่หักภาษีแล้วไม่เสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
-
ข. ค่าใช้จ่ายทั่วไปและในด้านอำนวยการที่จัดสรรให้หัวหน้าสำนักงานไม่เสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
-
ค. ไม่มีการจัดเก็บภาษีเพิ่มจากรายรับที่จัดสรรไว้
ในบางกรณีบริษัทต่างชาติเลือกตั้งบริษัทลูกเพื่อดำเนินธุรกิจและทำหน้าที่ เสมือนสำนักงานสาขา เพื่อให้มีผู้ถือหุ้นรับผิดชอบในกิจการนอกเหนือจากหัวหน้าสำนักงาน |
|
1.3 |
|
สำนักงานผู้แทน – บริษัทต่างชาติอาจแต่งตั้งสำนักงานผู้แทนเพื่อดำเนินกิจกรรมด้านกฎหมาย เช่น การเจรจาต่อรอง การจัดการด้านสัญญา และการจัดซื้อจัดจ้างกับบริษัทหรือหน่วยงานของไต้หวันที่เกี่ยวข้อง โดยสำนักงานดังกล่าวต้องไม่ดำเนินกิจกรรมนอกเหนือจากที่ระบุไว้ |
|
|
2. การขออนุมัติการลงทุนของต่างชาติ |
|
2.1 |
|
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของต่างชาติ คือ Statute for Investment by Foreign National (บทบัญญัติว่าด้วยการลงทุนโดยชาวต่างชาติ) รวมถึง ทั้งนี้ หากต้องการลงทุนใน Science Park หรือ Export Processing Zone (EPZ) ต้องขออนุญาตจาก National Science Council ซึ่งดูแลการอำนวยการของทั้งสองส่วน สำหรับการลงทุนในส่วนอื่นๆ ต้องขออนุญาตจากคณะกรรมการด้านการลงทุนของกระทรวงเศรษฐการไต้หวัน |
|
2.2 |
|
ไต้หวันเปิดกว้างให้มีการลงทุนจากต่างชาติ ได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม ยกเว้นในกรณีที่มีเงินทุนที่มาจากประเทศจีน หรือเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นอันตรายต่อความมั่นคง กรุณาศึกษารายชื่อของอุตสาหกรรมที่ต่างชาติไม่สามารถลงทุนได้ที่ www.moeaic.gov.tw นอกเหนือจากอุตสาหกรรมที่ระบุไว้ข้างต้นแล้วนักลงทุนต่างชาติสามารถดำเนินธุรกิจได้เท่าเทียมกับผู้ประกอบการไต้หวัน |
|
|
3. กระบวนการยื่นขอลงทุน |
|
3.1 |
|
นักลงทุนต่างชาติต้องคำร้องขอลงทุนกับกรมการพาณิชย์ กระทรวงเศรษฐการไต้หวัน เพื่อจองชื่อภาษาจีนของบริษัทและประเภทของธุรกิจ |
|
3.2 |
|
ในการตั้งบริษัทในพื้นที่นอกเหนือจาก Science Park และ EPZ นักลงทุนต้องยื่นคำขอลงทุนกับคณะกรรมการการลงทุน กระทรวงเศรษฐการพิจารณาอนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติแล้วนักลงทุนต่างชาติจึงส่งรายละเอียดเกี่ยวกับเงินลงทุน ให้คณะกรรมการการลงทุน กระทรวงเศรษฐการพิจารณา แล้วจึงยื่นคำขอลงทะเบียนบริษัทกับหน่วยงานดูแลด้านการจดทะเบียนบริษัท และยื่นคำขอทำใบอนุญาตประกอบการกับหน่วยงานท้องถิ่น (ระดับเมืองหรือ county)
สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://gcis.nat.gov.tw/welcome_2.jsp. |
|
3.3 |
|
ในการตั้งสำนักงานสาขาของบริษัทต่างชาติใน พื้นที่นอกเหนือจาก Science Park และ EPZ บริษัทต้องยื่นคำร้องต่อกรมการพาณิชย์กระทรวงเศรษฐการไต้หวันให้รับรองหัว หน้าสำนักงานและลงทะเบียนสำนักงานสาขา แล้วจึงยื่นคำขอทำใบอนุญาตประกอบการกับหน่วยงานท้องถิ่น (ระดับเมืองหรือ county)
สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://gcis.nat.gov.tw/welcome_2.jsp. |
|
3.4 |
|
สำหรับบริษัทที่ดำเนินธุรกิจส่งออกและนำเข้า สามารถยื่นคำขอลงทุนได้ที่ Bureau of Foreign Trade กระทรวงเศรษฐการไต้หวัน ทั้งนี้ โปรดศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.trade.gov.tw |
|
3.5 |
|
นักลงทุนที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการผลิต หรือประกอบสินค้าสามารถยื่นคำขอลงทะเบียนโรงงานต่อหน่วยงานที่กำกับดูแล Science Park และ EPZ หรือหน่วยงานท้องถิ่น (ระดับเมืองหรือ county) แล้วแต่สถานที่ตั้งของโรงงาน |
|
|
4. การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ |
|
4.1 |
|
ไต้หวันเปิดเสรีการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในธุรกรรมต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับ NTD |
|
4.2 |
|
ไต้หวันเปิดเสรีการแลกเปลี่ยนเงินตราต่าง ประเทศที่เกี่ยวกับ NTD ในธุรกรรมต่อไปนี้ 1) การซื้อขายสินค้า 2) การจ่ายค่าบริการต่างๆ 3) การลงทุนทางการเงิน รวมถึงการลงทุนโดยตรงและการลงทุนในหุ้น ซึ่งได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานที่มีอำนาจ ทั้งนี้มีข้อยกเว้นดังนี้ คือ บริษัทหรือผู้อาศัยในไต้หวันประสงค์จะแลกเงินจำนวนมากกว่า 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับต้องยื่นขออนุญาตจากธนาคารกลาง และดำเนินการผ่านสถาบันทางการเงินเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว สำหรับผู้ที่ไม่ได้อาศัยในไต้หวันที่ประสงค์จะแลกเงินจำนวนกว่า 100,000 เหรียญสหรัฐฯ ต้องยื่นขออนุญาตจากธนาคารกลาง และดำเนินการผ่านสถาบันทางการเงินเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว |
|
4.3 |
|
การแลกเปลี่ยนเงินตรามูลค่าตั้งแต่ 500,000 NTD ต้องแจ้งต่อทางการไต้หวัน เพื่อให้เป็นไปตาม Regulations Governing the Declaration of Foreign Exchange Receipts and Disbursements or Transactions |
|